วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แกงมัสมั่น.. แก้วตาดวงใจ 🍲


ส่วนผสมและสัดส่วน



พริกแกงมัสมั่น

1. พริกแห้งเม็ดใหญ่แช่น้ำไว้ 5-8 เม็ด
2. พริกขี้หนูแห้ง 5 เม็ด
3. รากผักชีหั่น 1 ช้อนโต๊ะ
4. ลูกผักชีคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
5. ยี่หร่าคั่ว1 ช้อนชา
6. ลูกกะวานคั่ว 1 ผล
8. อบเชยคั่ว 1 ก้าน
9. ข่าซอย 1 ช้อนชา 
10. ตะไคร้ 2 ช้อนโต๊ะ
11. กระเทียมเผา 2 ½ ช้อนโต๊ะ
12. หอมแดงเผา 2 ช้อนโต๊ะ
13. พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา
14. กะปิ 2 ช้อนชา 
15.เ กลือ ¾ ช้อนชา

แกงมัสมั่นไก่

1. น่องไก่ หรืออกไก่ ½ กิโลกรัม
2. พริกแกงมัสมั่นไก่ 200 กรัม (ถ้าชอบเผ็ดมากเพิ่มได้ค่ะ)
3. มันฝรั่งล้างและต้มให้สุกหั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆ 4-5 หัว
4. หอมใหญ่ 3 หัว
5. ถั่วลิสงคั่ว ¼ ถ้วย
6. น้ำปลาอย่างดี ¼ ถ้วย
7.น้ำตาลปี๊บ ½ ถ้วย
8. น้ำมะขามเปียก ¼ ถ้วย
9. หัวกะทิ 1 ถ้วย
10. หางกะทิ 4-5 ถ้วย


วิธีปรุง
1.เคี่ยวหัวกะทิจนแตกมันใส่พริกแกงมัสมั่นลงไปผัดให้หอม ใส่น่องไก่ลงไปผัดจนสุก
2.เติมหางกะทิลงไป เคี่ยวจนเนื้อไก่เปื่อยด้วยไฟเบา
3.ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลปี๊บและน้ำมะขามเปียก จากนั้นใส่หัวหอมและมันฝรั่งลงไป รอจนเดือดอีกครั้งโรยถั่วลิสงคั่วลงไป ปิดไฟตักใส่ชามทานร้อนๆกับข้าว หรือทานกับโรตีก็อร่อยไปอีกแบบค่ะ
เคล็ดลับน่ารู้.  

มัสมั่น...แกงแก้วตา หอมยี่หร่า รสร้อนแรง...

หลายคนอาจจะเคยท่องกาพย์บทนี้กันจนจำได้ แล้วรู้หรือไม่คะว่า แกงมัสมั่นแท้จริงแล้วมีที่มาจากไหน
จริงๆแล้วแกงมัสมั่นได้รับอิทธิพลมาจากอาหารของชาวมลายู ชาวไทยทางภาคใต้หรือผู้ที่เป็นมุสลิมจะเรียกแกงชนิดนี้ว่า “ซาละหมั่น” ซึ่งรสชาติแบบดั้งเดิมนั้นจะออกเค็มและมัน และคนไทยนำมาปรับเปลี่ยนสูตรให้ถูกปากตัวเองมากขึ้น กลายเป็นรสชาติออกไปทางหวานนำ

แกงมัสมั่นทางภาคใต้นั้นไม่ได้ทำจากเครื่องแกงอย่างในภาคกลาง แต่จะใช้ การผสมเครื่องเทศต่างๆทั้งลูกผักชี ยี่หร่า พริกอินเดียและพริกไทย ป่นผสมเข้าด้วยกันเป็นผงเครื่องเทศสำหรับมัสมั่น แล้วนำไปผัดกับน้ำมันหอมเจียว

แต่สูตรแกงมัสมั่นแบบมลายูดั้งเดิมนั้น จะใส่กานพลู อบเชย ลงไปผัดกับน้ำมันและหอมแดงจนหอม แล้วใส่พริกอินเดีย ยี่หร่า พริกไทย ลงผัดให้เข้ากัน แล้วยังมีส่วนผสมของมะพร้าวคั่ว ผงขมิ้น ดอกไม้จีน และหน่อไม้จีนด้วย

และเมื่อไม่นานมานี้เว็บไซต์ CNNGO ได้จัดอันดับ 50 เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก โดยการลงคะแนนเสียงทางเฟซบุค ปรากฏว่า แกงมัสมั่นได้รับเลือกให้เป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก


ที่มา : th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น